วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อสารมวลชนกับการศึกษา


ความหมายของ “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา”สื่อมวลชน หมายถึง สื่อประเภทต่างๆ เช่น วารสาร โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ เมื่อนำสื่อมวลชนมาศึกษาจึงเรียกว่า “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา” หมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน การที่ข่าวสารจะส่งจากแหล่งส่งไปยังผู้รับได้นั้นสามารถกระทำได้ด้วยกระบวนการของ “สื่อสาร” เมื่อนำกระบวนการนี้มาใช้กับสื่อมวลชนจึงเรียกว่า “สื่อสารมวลชน” ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนหรือผู้รับจำนวนมาก โดยที่ผู้ส่งอาจจะเป็นบุคคลเดียวหรือกลุ่มคนที่รวมกันเป็นองค์กรหรือสถาบัน

มาตรา 4 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้กว้างขวางเกินสากลที่ว่า “การศึกษาหมายถึงกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต”

หน้าที่ของสื่อมวลชนสื่อมวลชนมีหน้าที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้าหน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต้สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้
1.การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ
2.การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน
3.การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษา

สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดคือ โทรทัศน์ กับสิ่งพิมพ์ เพราะว่าทุกคนสามารถรับชมและรับฟังได้ทุกวันทุกเวลาที่ต้องการ และเป็นสื่อที่มีได้ทั่วอย่างเช่นว่า ข้อมูล ข่าวสาร ละคร บันเทิง ต่างๆ

แสดงความคิดเห็นที่ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนดาบสองคม มีทั้งข้อดีและข้อเสียต้องใช้วิจารณญาณในการรับชมและรับฟัง หากใช้สื่อมวลชนในทางที่ไม่ดี เอาตัวอย่างที่ไม่ดีไปใช้อาจจะทำให้เกิดปัญหากับสังคมแต่ถ้านำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะไม่เกิดปัญหาก่อให้เกิดผลดีแก่ผู้ใช้

มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดเรตติ้งทางทีวีอย่างไร

การจัดรายการรูปแบบให้เป็นที่น่าสนใจของผู้ฟังและผู้ชมส่วนมากผู้ชมจะเป็นวัยรุ่นจะมีการจัดรายการที่วัยรุ่นให้ความสนใจและชื่นชอบโดยการใช้ดารา นักร้อง ที่มีชื่อเสียงมาเป็นจุดดึงดูดให้โดดเด่นก็จะได้มีเรตติ้งที่สูง

sms มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร

ผลดี คือทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ทำให้สามารถเข้ากับสถานการณ์ได้ทันท่วงทีผลเสีย คือ การส่งข้อความผ่าน sms อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นเพราะข้อมูลข่าวสารอาจไม่เป็นความจริง เช่น การส่งข้อความที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่สังคม ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายได้ง่าย

ประโยชน์การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

1. เครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง

2.เครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ

3.สื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้

4.เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้

5.อุปกรณ์การสอนจุลภาค/มหภาค โดยการบันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน

6.สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน

7. อุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้

8. แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด

9. ให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ

10. เพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์

11. เพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม

จะมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษาอย่างไร


การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาสื่อมวลชนจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อระบบไฟฟ้า สื่อสองประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาทั้งในระบบและนอกโรงเรียนได้ทั้งสิ้น สื่อแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในการศึกษา ดังนี้

1. สิ่งพิมพ์

2. วิทยุ

3. โทรทัศน์และวีดิทัศน์

4. ภาพยนตร์

5. สื่อประสมสามารถจำแนกการใช้ออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. เพื่อการสอนโดยตรง สื่อมวลชนที่ใช้สอนโดยตรงจะต้องมีเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อตรงตามเนื้อหาบทเรียน

2. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำสื่อมวลชนมาใช้ประกอบการสอนเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เรียนจากสื่อที่ใช้ในการสอนโดยตรงในชั้นเรียน สื่อมวลชนที่นำมาใช้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทเรียนตามหลักสูตร แต่จะขยายวงกว้างกว่าสื่อที่นำมาสอนโดยตรง
สิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์ หมายถึง ข้อความ ข้อเขียน หรือภาพที่เกี่ยวกับแนวความคิด ข้อมูล สารคดี บันเทิง ซึ่งถ่ายทอดด้วยการพิมพ์ลงบนกระดาษ ฟิล์ม หรือวัสดุพื้นเรียบสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา หมายถึง สิ่งพิมพ์ในรูแบบต่างๆที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยบรรจุเนื้อหาสาระที่ดีมีประโยชน์และให้ความรู้ทั้งที่เป็นความรู้ ส่วนสิ่งพิมพ์เพื่อการสอน หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้เฉพาะอย่างตามหลักสูตรการเรียน ซึ่งอาจเย็บรวมเล่มหรือเป็นแผ่น


วิทยุ วิทยุเป็นอุปกรณ์สื่อสารในการรับส่งข้อมูลทางด้านเสียงโดยใช้คลื่บแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้สาย การใช้วิทยุเพื่อการสื่อมวลชนเพื่อการศึกษาในประเทศไทยเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 โดยใช้ในและนอกระบบโรงเรียน ถ้าเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนเรียกว่า “วิทยุโรงเรียน” ถ้านอกระบบโรงเรียนเรียกว่า “วิทยุไปรษณีย์” เราเรียกการใช้วิทยุในการศึกษารวมเรียกว่า “วิทยุศึกษา”การใช้วิทยุเพื่อการศึกษา

1.การสอนโดยตรง เป็นการใช้วิทยุเพื่อเป็นสื่อสอนโดยตรงในบางวิชาหรือบางตอนของบทเรียน รายการวิทยุที่ใช้สอนจึงเป็นการเสนอตามเนื้อหาบทเรียนในหลักสูตร

2.การเพิ่มพูนคุณค่าในการสอน เป็นการใช้รายการวิทยุเพื่อปรุงแต่งและเสริมคุณค่าของการสอนในบางวิชาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


โทรทัศน์การใช้โทรทัศน์การศึกษาและการสอน

1. การสอนโดยตรง เป็นการใช้โทรทัศน์เพื่อเสนอรายการที่จัดทำขึ้นตามเนื้อหาในหลักสูตรในรูปแบบของโทรทัศน์การสอน

2. การเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นมาเสนอแก่ผู้เรียนเพื่อเพิ่มความรู้และประสบการณ์ และเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางการเรียนให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
วีดิทัศน์แถบวีดิทัศน์เป็นวัสดุสำคัญที่สามารถใช้บันทึกภาพและเสียงไว้ได้พร้อมกันในแถบเทปในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และยังสามารถลบแล้วบันทึกใหม่ได้เช่นเดียวกับเทปบันทึกเสียง แถบวีดิทัศน์จะใช้กับเครื่องเล่นวีดิทัศน์ซึ่งต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อเล่นภาพและเสียงออกมา
ภาพยนตร์ภาพยนตร์ หมายถึง ภาพนิ่งเรียงติดต่อกันที่ถูกบันทึกลงบนม้วนฟิล์มด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์ เมื่อฉายฟิล์มไปที่จอภาพภาพยนตร์การศึกษา หมายถึง ภาพยนตร์ที่เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้ ข้อมูล เรื่องราว แนวคิด เหตุการณ์ ให้ผู้ชมได้รับความรู้จากเรื่องราวที่เสนอ โดยไม่จำกัดกลุ่มผู้ชมการใช้ภาพยนตร์เพื่อการสอน การใช้ภาพยนตร์ในชั้นเรียน ผู้สอนต้องตั้งจุดประสงค์ว่าจะใช้ภาพยนตร์เพื่อการสอนโดยตรงหรือเพื่อประกอบการสอน เพราะภาพยนตร์เรื่องเดียวอาจใช้เนื้อหาเพื่อสนองตามจุดประสงค์ที่แตกต่าง ในการใช้ภาพยนตร์นั้นอาจจะใช้ทั้งเรื่องหรือเลือกเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งมาใช้สอนก็ได้เพื่อความเหมาะสม ซึ่งผู้สอนควรยึดหลักการดังนี้

1.ก่อนนำมาฉายในชั้นเรียน ผู้สอนควรทราบถึงรายละเอียดและความสำคัญของเนื้อเรื่องนั้นก่อน

2.ควรมีการเตรียมพร้อมผู้เรียนเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการชมภาพยนตร์

3. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมขณะฉายภาพยนตร์

4. ควรใช้ภาพยนตร์คู่กับสื่อๆ

5. ใช้ภาพยนตร์สี

6. ฉายภาพยนตร์บางตอนซ้ำ

7. มีกิจกรรมให้ผู้เรียนทำหลังชมภาพยนตร์
สื่อประสมการใช้สื่อประเภทอื่นมาใช้ร่วมด้วยในลักษณะของ”สื่อประสม” มีการใช้ดังนี้ คือ

1. สื่อหลัก โดยใช้สื่อมวลชนในการสื่อสารระหว่างผู้สอน

2. สื่อเสริม
การศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกลเป็นระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกันคนละสถานที่ แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้โดยอาศัยสื่อมวลชน 2 ประเภท คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสิ่งพิมพ์การใช้สื่อมวลชนในการศึกษาทางไกล

1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำแนกเป็นสื่อประเภทเสียง และสื่อประเภทเสียงและภาพ

2. สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนได้ด้วยตนเอง อยู่ในรูปแบบของชุดการเรียนสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ให้ความสะดวกแก่ผู้เรียนและเอื้ออำนวยในการศึกษาทางไกล

3. สื่อบุคคล คือ อาจารย์ ผู้เรียน ในการสื่อสารกันของสื่อบุคคลสามารถกระทำได้

สรุป การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาให้คนมีความเจริญงอกงามในด้านต่างๆ ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะการปฏิบัติ และเจตคติ โดยมีรูปแบบของการศึกษา 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาปกติวิสัย แนวคิดทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาตลอดชีวิต สื่อมวลชนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษามากขึ้น เนื่องจากประชาชนจะต้องรับข่าวสารจากสื่อมวลชนอยู่เป็นประจำตลอดชีวิต ประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นต่างๆ เช่น การเพิ่มของประชากร การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ และผู้สอนที่เชี่ยวชาญ การกระจายของประชากร การเปลี่ยนแปลงของสังคม และความเจริญก้าวหน้าของกิจการสื่อสารมวลชนเอง ทำให้สื่อมวลชน มีบทบาทต่อการศึกษาของประชาชนมากขึ้น ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามปกติวิสัย แต่การใช้สื่อมวลชนให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา ยังไม่ได้รับการดำเนินการอย่างจริงจังแม้ว่าผู้คนทั่วไปจะให้การยอมรับว่า สื่อมวลชนมีบทบาททางการศึกษาอย่างกว้างขวาง แต่ในบางส่วน โดยเฉพาะการศึกษาในระบบโรงเรียน ยังมีข้อขัดแย้งบางประการที่การศึกษาในระบบโรง เรียน มีแนวความคิดและวิธีการดำเนินงาน แตกต่างไปจากการศึกษาทางสื่อมวลชน เกี่ยวกับเรื่อง ต่างๆ ต่อไปนี้ คือ ความสนุกสนาน ความทันสมัย สาระของเนื้อหา ภาษาที่ใช้ และค่านิยม ทำให้โรงเรียนยอมรับบทบาททางการศึกษาของสื่อมวลชนได้เพียงระดับหนึ่งพัฒนาการของสื่อมวลชน ส่งผลให้สื่อมวลชนในปัจจุบันมีอิทธิพลต่อการศึกษาและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดการศึกษาเกี่ยวกับสื่อมวลชนศึกษา เพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกและใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนได้อย่างเหมาะสม